วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

การจัดหาซอฟแวร์เพื่อมาใช้งาน



การจัดหาซอฟต์แวร์เพื่อมาใช้งาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. แบบสำเร็จรูป (Packaged or ready-made software) เป็น วิธีที่ผู้ใช้งานซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายซอฟแวร์ที่ได้รับการแต่งตั้ง จากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ซึ่งมักจะมีการเตรียมบรรจุภัณฑ์และเอกสารคู่มือการใช้งานไว้อยู่แล้ว ผู้ใช้สามรถนำไปติดตั้งเพื่อใช้งานได้โดยทันที กรณีที่ไม่สามารถเลือกซื้อผ่านทางร้านตัวแทนจำหน่ายได้ อาจเข้าไปในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วกรอกข้อมูลรายการชำระเงินผ่านระบบแบบฟอร์มบนเว็บ เมื่อรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายชำระเงินของผู้ซื้อได้รับการอนุมัติแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลดเอาซอฟต์แวร์มาใช้งานได้ทันที
2. แบบว่าจ้างทำ (Customized or tailor-made software) เป็น วิธีการที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะของตนเองและไม่สามารถนำ โปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการผลิตซอฟแวร์ขึ้นมาใช้เอง โดยให้บุคคลภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทำการผลิตซอฟแวร์ใหเตรงตาม คุณสมบัติที่ต้องการ วิธีการนี้อาจทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบสำเร็จรูปพอสมควร แต่การทำงานของซอฟต์แวร์จะสอดคล้องตรงกับความต้องการได้ดีที่สุด
3. แบบทดลองใช้ (Shareware) เป็น วิธีที่บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้ผลิตโปรแกรมที่ปรับลดคุณสมบัติบางอย่างลง ไป เพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งานก่อน โดยมีการกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน เช่น ใช้ได้ภายใน 30 วัน ใช้ภายใน 90 วัน เป็นต้น หากผู้ใช้ทดลองใช้แล้วตัดสินใจว่าดี ตลอดจนเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่ ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปแบบต็มๆจากบริษัทผู้ผลิตต่อไป
4. แบบทดลองใช้งานฟรี (Freeware) เป็น โปรแกรมที่แจกให้ใช้ฟรี เพื่อตอบสนองกับการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ผลิต ส่วนใหญ่เป้าหมายของผู้ผลิตคือ ต้องการพัฒนาโปรแกรมเพื่อเผยแพร่ผลงานของตนเองให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และทดสอบระบบที่พัฒนาขึ้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ลิขสิทธิ์ก็ยังเป็นของบริษัทผู้ผลิตอยู่ ผู้อื่นไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
5. แบบโอเพนซอร์ซ (Open source) เป็น วิธีการขององค์กรที่มีกลุ่มบุคคลผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการ พัฒนาซอฟต์แวร์ทำการพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานได้ฟรี รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับงานของตนได้


ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
                สิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น ได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่ารูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีการใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำ
                ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ หมายถึง สิทธิที่กฎหมายรับรองให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้ทำขึ้นรวมทั้งอนุญาตให้ใช้งานซอฟแวร์นั้นๆ โดยชอบธรรมตามกฎหมาย โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟรีแวร์และโอเพนซอร์ซนั้นมาพร้อมลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งลิขสิทธิ์ซอฟแวร์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเสียเงินเสมอไป แต่ใช้เพื่ออธิบายสิทธิของผู้ใช้ว่าได้รับการอนุญาตให้ทำอะไรได้บ้าง
                ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์สูง ปัญหานี้ส่งผลเสียต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ซีดีเพลง (ซีดีรวมไฟล์เพลงประเภท MP3) วีซีดี และดีวีดีภาพยนตร์ เกม รวมถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์ สำหรับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พัฒนาคู่มือ การคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท โดยได้อธิบายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำหน่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใช้ได้เสรี โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบรหัสเปิด โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาธารณะ โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบทดลองใช้ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทอื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท รวมถึงสิทธิในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีบทลงโทษรุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น